ลักษณะของสำนวนไทย สำนวนไทย หมายถึง คำกล่าวหรือถ้อยคำคมคายสั้นๆที่ผูกเข้าเป็นประโยคหรือวลี(กลุ่มคำ)มีความหมายกระชัดรัดกุม แต่มีความหมายเป็นนัย มีความลึกซึ้งและมีความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ โดยแบ่งออกเป็นสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ดังอธิบายพอสังเขป ดังนี้
สำนวน คำว่าสำนวน หมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้วมีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ลักษณะทั่วไปของสุภาษิต สำนวนไทย
๑. เป็นคำสั้นๆ ง่ายๆ หรือคล้องจองกันเพื่อให้จดจำได้ง่าย
๒. เป็นคำบอกเล่ากลางๆ ไม่เป็นคำสั่งหรือการบังคับ
๓. ยั่งยื่นอยู่ในความทรงจำของคนทั่วไป
๔. เป็นจริงตามปกติวิสัยมนุษย์ทั่วไป
หน้าที่ของภาษิตสำนวนไทย
คนไทยแต่เดิมไม่มีโรงเรียนไม่มีครูสอนก็ได้อาศัยภาษิตสำนวนเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจ ให้งดเว้นในสิ่งที่ควรงด กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ เพราะสำนวนเหล่านี้เกิดมานานและคงเกิดจากประสบการณ์ของคนในรุ่นก่อนๆนั้นเอง จึงเป็นเครื่องเตือนใจ บอกแนวทางดำเนินที่ถูกที่ควรให้แก่คนรุ่งหลัง หรือแนะนำเป็นเชิงสั่งสอน เช่น
ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
ภาษิตสำนวนไทยยังเป็นสิ่งวิพากษ์วิจารณ์กระทำและพฤติกรรมของมนุษย์ แต่มักจะไม่กล่าวออกมาตรงๆ มักจะกล่าวอ้อมๆโดยนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ผู้ฟังจะต้องคิดจึงจะเข้าใจในประการนี้ จะช่วยให้คนปัจจุบันมองเห็นแนวนิยมและแนวความคิดของคนไทยโบราณ ได้ว่านิยมหรือสรรเสริญสิ่งใด รังเกียจดูถูกสิ่งใด โดยสังเกตจากภาษิต สำนวน เช่น
ผู้ดีว่า ขี้ข้าพลอย พูดไปสองไพ นิ่งเสียตำลังทอง หวานเป็นลม ขมเป็นยา มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่
นอกจากนั้นภาษิตสำนวนเหล่านี้ ยังแสดงความเป็นจริงของชีวิตปกติของโลกอีกด้วย เช่น
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง กงเกียง กำเกวียน
สำนวนภาษิตไทยนี้ต่อๆ มาเมื่อการคมนาคมเจริญมากขึ้น เรามีการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้นก็ได้รับภาษิตจากประเทศทางตะวันตกมาใช้ด้วย เช่น กรุงโรมไม่ได้สร้างในวันเดียว เป็นต้น ภาษิตสำนวนไทยนี้มีบางท่านได้นำมาผูกเรื่องเป็นนิทานประกอบก็มี เช่น พระสุวรรณรัศมี แต่งนิทานเทียบสุภาษิตไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องเลี้ยงช้างกินขี้ช้าง กินปูร้องท้อง หนามยอกเอาหนามบ่ง เป็นต้น
คุณค่าของภาษิตสำนวนไทย
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน ได้กล่าวถึงคุณค่าของสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนไว้ว่ามีประโยชน์หลายประการ คือ
๑. เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนละชี้แนะให้เป็นคนดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านความรัก การสมาคม การครองเรือน การศึกษา การพูดจา ดังตัวอย่างในด้านความรักและการครองเรือน เช่น คู่กันแล้วไม่แคล้วกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราในด้านการสมาคม เช่น คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ น้ำขุนไว้ในน้ำใส่ไว้นอกในด้านการศึกษาอบรม เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ฝนทั่งให้เป็นเข็ม สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยากในด้านการพูดจา เช่น พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
๒.ช่วยสะท้อนให้เห็นความคิดความเชื่อ ของคนในสังคมไทยหลายประการ ดังตัวอย่างความเคารพนบนอบผู้ใหญ่ และความเชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้นำของครอบครัว เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ผัวเป็นช้างเท้าหน้า เมียเป็นช้างเท้าหลัง ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อเลียชีพอย่าเสียสัตย์
๓.สะท้อนให้เห็นภาวะความเป็นอยู่ของสังคมในด้านต่างๆ ตัวอย่าง เช่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น นุ่งเจียมห่อเจียม มีสลึกพึงประจบให้ครบบาทอย่าเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้างเกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น อย่าหมายน้ำบ่หน้า น้ำขึ้นให้รีบตักเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ เช่น เมืองลุงมีดอน เมืองคอนมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่ เป็นสำนวนปักษ์ใต้ที่บอกสภาพจังหวัด พัทลุงว่าเป็นที่ดอน จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นท่าน้ำ จังหวัดตรงมีนามาก และจังหวัดสงขลามีบ่มาก
๔.ชี้ให้เห็นว่าคนไทยกับธรรมชาติเกี่ยวพันอย่างมาก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ น้ำ มาตั้งเป็นภาษิตสำนวน คำพังเพยต่างๆ เช่น วัวแก่กินหญ้าอ่อน น้ำตาลใกล้มด ดินพอกหางหมู ปากหอยปากปู มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น อ้อยเข้าปากช้าง วัวลืมตีน น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
๕. ช่วยให้เราใช้ภาษาได้เหมาะสมและสละสลวยน่าสนใจ และเรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว อันจะทำให้เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีขึ้น ช่วยทำให้เกิดความรัก ความเห็นใจกันไม่เกิดการแบ่งแยกแตกเหล่า ลักษณะของสำนวน จำแนกได้ดังนี้
๑. มีลักษณะเป็นโวหารและมีเสียงสัมผัสกัน กล่าวคือ สำนวนที่มีลักษณะไพเราะด้วยการซ้ำคำ หรือมีสัมผัสคล้องจองกันทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระอยู่ในสำนวนนั้นๆ เช่น-ก่อ ร่างสร้าง ตัว มีสัมผัสสระ อา ระหว่างคำว่า ร่าง-สร้าง-ขับ ไล่ไส ส่ง มีสัมผัสสระไอ ระหว่างคำว่า ไล่ ไส-หลับ หู หลับ ตา มีการเล่นคำซ้ำกัน คือคำว่า หลับ-หาม รุ่งหาม ค่ำ มีการเล่นคำซ้ำกัน คือคำว่าหาม
๒.มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆดังนี้
-แก้มแดงเป็นลูกตำลึงสุก เป็นการกล่าวเปรียบลักษณะของอาการแก้มแดงบนใบหน้า-เงียบเหมือนเป่าสาก เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความเงียบ-ใจกว้างเหมือนแม่น้ำ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะนิสัยของคนที่ใจกว้าง-ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง-ขมเหมือนบอระเพ็ด เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความขมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๓.มีลักษณะเป็นคำคมหรือคำกล่าวที่ให้แง่คิดต่างๆดังนี้
๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างๆทำให้สัตว์หรือสิ่งต่างๆเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง นกรู้ น้ำพึ่งเรือ เสือผึ่งป่า วันลืมตีน กระต่ายตื่นตูม กิ้งก่าได้ทอง น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ตาลุกตาชัน
สุภาษิต
สุภาษิตหมายถึง ข้อความหรือถ้อยคำสั้นๆมีความกะทัดรัด มักมีความหมายไปในทางแนะนำสั่งสอน มีคติสอนใจ ให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ่งสามารถพิสูจน์เชื่อถือได้ ลักษณะของสุภาษิต สุภาษิตมักจะเป็นข้อความสั้นๆใช้คำง่ายๆแบบเอกรรถประโยคหรือเป็นประโยคยาวแบบอเนกรรถประโยคก็ได้และมักจะมีลักษณะเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
๑.สุภาษิตของนักปราชญ์ต่างๆรวมถึงพุทธภาษิต เช่น
๒.สุภาษิตชาวบ้าน เป็นสุภาษิตที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กล่าว เช่น
-ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน-ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำความดี แล้วคนอื่นมองไม่เห็น-ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลเล็กน้อย-มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึง ไม่ช่วยทำแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
เรื่องของสำนวน สุภาษิต คำพังเพยในที่นี้ผู้เขียนไม่ประสงค์จะให้ผู้อ่านเพ่งเล็งในเรื่องของการแบ่งแยกประเภทสำนวน สุภาษิต คำพังเพยออกจากกันเสียที่เดียว จึงขอเรียกรวมกันว่าสำนวนไทย เนื่องจากคำกำจัดความบางข้อความไม่สามารถชี้ชัด หรือแบ่งแยกลักษณะออกจากกันได้ เพราะข้อความหรือกลุ่มคำดังกล่าวยังมีลักษณะที่เป็นทั้งสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย อยู่ในตัว เช่น
น้ำขึ้นให้รีบตัก เป็นสำนวนได้ เพราะมีความหมายไม่ตรงตามตัว อักษร เป็นสุภาษิตได้ เพราะให้คติสอนใจว่า เมื่อมีโอกาสทำอะไร ต้องรีบทำเพื่อ ให้ได้รับผลสำเร็จโดยเร็ว เป็นคำพังเพยได้ เพราะกล่าวติคนทำไม่ดี มูลเหตุและที่มา
สำนวนไทยอาจเป็นวลี ประโยค หรือกลุ่มคำที่มีลักษณะคล้องจองกันนั้น มีมูลเหตุและที่มาจากหลายประการ ตามลักษณะของประเพณี วัฒนธรรม พฤติกรรม นิสัยการกินอยู่ของคนในสังคม รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติความเป็นมาจากศาสนา เหตุการณ์ในวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ซึ่งพอสรุปความเป็นมาและแหล่งที่เกิดของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้ดังนี้
๑.สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพทางภูมิศาสตร์
-ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง -ข้าวนอกนา
-หมาหยอกไก่ -ปลาหมอตายเพราะปาก
-แมวไม่อยู่หนูร่าเริง -หมาเห่าใบตองแห้ง
๓.ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ ส่วนประกอบอวัยวะต่างๆในร่างกายของคน เช่น
-ขนหัวลุก -ปากเป็นเอก เลขเป็นโท-ลิ้นกับฟัน -มือถือสาก ปากถือศีล
๒.สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
๒,ศาสนาหรือพีธีกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา เช่น
-ขนทรายเข้าวัด -เทศน์ไปตามเนื้อผ้า
๓.เหตุการณ์ในนิทาน ตำนาน วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ เช่น
๔.ประเพณีต่างๆในสังคม เช่น
๕.วัตถุสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
๖.การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น