เรื่องย่ออิเหนา
เนื้อเรื่องตอนที่ 1 บ้านเมืองและกำเนิดตัวละคร
ในชวาสมัยโบราณ มีกษัตริย์ปกครองเมืองใหญ่เมืองน้อย กษัตริย์วงศ์เทวาซึ่งถือว่าเป็นชาติตระกูลสูงสุด ด้วยสืบเชื้อสายมาจากเทวดา ใช้คำนำหน้าพระนามว่า ระเด่น ส่วนกษัตริย์นอกวงศ์นั้น ใช้คำว่า ระตู เริ่มต้นบทละครเรื่องนี้ กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์ 4 องค์ ต่างเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา ทรงพระนามว่าท้าวกุเรปัน ท้าวดาหา ท้าวกาหลัง ท้าวสิงหัดส่าหรี ครองเมือง 4 เมือง ซึ่งมีชื่อเช่นเดียวกับพระนามกษัตริย์ ทุกพระองค์ต่างก็มีมเหสี 5 องค์ ตามประเพณี เรียงลำดับศักดิ์ คือ ประไหมสุหรี มะเดหวี มะโต ลิกู และเหมาหลาหงี ประไหมสุหรีของท้าวกุเรปันและท้าวดาหานั้น เป็นธิดาของกษัตริย์หมันหยาเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง จึงทำให้เมืองหมันหยามีความเกี่ยวดองกับกษัตริย์วงศ์เทวามากขึ้น ท้าวกุเรปันมีโอรสกับลิกูองค์หนึ่งทรงพระนามว่า กระหรัดตะปาตี ซึ่งได้หมั้นไว้กับบุษบารากา ธิดาของท้าวกาหลังซึ่งเกิดจากลิกู ต่อมาพระองค์ปรารถนาจะให้ประไหมสุหรีมีโอรสบ้าง จึงได้ทำพิธี
บวงสรวง ก่อนประไหมสุหรีทรงครรภ์ก็ได้สุบินว่าพระอาทิตย์ทรงกลดลอยมาตกตรงหน้า และนางรับไว้ได้ เมือประสูติก็เกิดอัศจรรย์ต่าง ๆ เป็นนิมิตดี องค์ปะตาระกาหลาซึ่งเป็นเทวดาต้นวงศ์บนสวรรค์ เหาะนำกริชมาประทานให้ พร้อมทั้งจารึกนามโอรสด้วยว่า อิเหนา ต่อมาประไหมสุหรีได้ธิดาอีกหนึ่งองค์ พระนามว่า วิยะดา ฝ่ายท้าวดาหา ประไหมสุหรีก็ประสูติธิดา ได้พระนามว่า บุษบา ขณะประสูติก็เกิดอัศจรรย์ก็มี กลิ่นหอมตลบทั่วเมือง หลังจากประสูติบุษบาแล้ว ประไหมสุหรีก็ประสูติโอรสอีก พระนามสียะตรา ท้าวกาหลังมีธิดา พระนามสะการะหนึ่งหรัด ท้าวสิงหัดส่าหรีมีโอรส พระนามสุหรานากง และธิดาพระนาม จินดาส่าหรี กษัตริย์ในวงศ์เทวาจึงได้จัดให้มีการตุนาหงันกันขึ้น ระหว่างโอรสและธิดาในวงศ์เดียวกันโดยให้ อิเหนาหมั้นไว้กับบุษบา กระหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สียะตรากับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด แต่ก่อนจะมีการแต่งงาน ความยุ่งยากก็เกิดขึ้น
เนื้อเรื่องตอนที่ 2 ความขัดแย้ง ต้นเหตุของความยุ่งยาก
จุดเริ่มต้นที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ตัวละครประกอบความยุ่งยาก และเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมายอันเป็นการดำเนินเรื่องของบทละครเรื่องนี้ เกิดจากอัยยิกาของอิเหนาที่เมืองหมันหยาสิ้นพระชนม์ อิเหนาจึงเสด็จไปในงานพระเมรุแทนท้าวกุเรปัน แต่เสร็จพิธีแล้วอิเหนาไม่ยอมกลับ เพราะหลงรักนาง จินตะหรา ธิดาท้าวหมันหยา จนท้าวกุเรปันต้องมีสารไปเตือน เมื่อกลับมากรุงกุเรปันแล้วและใกล้เวลาอภิเษกกับบุษบา อิเหนาก็ไม่ใคร่เต็มใจ จึงออกอุบายทูลลาพระบิดาไปประพาสป่า แล้วปลอมองค์เป็น ปันหยีหรือโจรป่า นามว่ามิสาระปันหยี คุมไพร่พลรุกรานเมืองต่าง ๆ เมื่อเสด็จไปถึงเมืองใดก็ได้เมืองนั้นเป็นเมืองขึ้น ระตูหลายเมืองได้ถวายโอรสและธิดาให้ ที่สำคัญคือระตูปันจะรากันและระตูปักมาหงัน ได้ถวายธิดาคือมาหยารัศมีและสะการวาตี ซึ่งต่อมาได้เป็นชายาของอิเหนา และถวายโอรสคือสังคามาระตา ซึ่งอิเหนายกย่องให้เป็นน้องและเป็นทหารคู่ใจ กองทัพของปันหยีรอนแรมไปจนถึงเมืองหมันหยา ท้าวหมันหยาไม่กล้าต่อสู้และยอมยกธิดาให้ แต่พอรู้ว่าเป็นอิเหนา ท้าวหมันหยาไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญา อิเหนาจึงลอบเข้าหานางจินตะหราและได้เสียกัน ท้าวหมันหยาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้พอถึงกำหนดการอภิเษก ท้าวดาหาก็มีสารถึงท้าวกุเรปันให้เตรียมพิธีอภิเษก แต่อิเหนาบอกปัด ทำให้ท้าวดาหาโกรธมาก จึงประกาศจะยกบุษบาให้กับใครก็ได้ที่มาขอ เพราะฉะนั้นเมื่อระตูจรกา กษัตริย์รูปชั่วตัวดำ ให้พี่ชายคือระตูล่าสำไปสู่ขอบุษบาให้ตน ท้าวดาหาก็ยอมยกให้ ต่อมา ท้าวกระหมังกุหนิง ส่งทูตมาสู่ขอบุษบาให้วิหยาสะกำซึ่งเป็นโอรส แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเพราะได้ยกให้ระตูจรกาไปแล้ว เป็นเหตุให้ท้าวกะหมังกุหนิงโกรธและยกกองทัพมาล้อมเมืองดาหา ท้าว ดาหาจึงขอกำลังจากพระเชษฐาและพระอนุชา ท้าวกุเรปันมีคำสั่งให้อิเหนาไปช่วยรบ อิเหนาจึงจำใจต้องจากนางจินตะหราและยกกองทัพไปช่วยรบ การศึกครั้งนี้ อิเหนามีชัยชนะ ท้าวกะหมังกุหนิงถูกอิเหนาฆ่าตายและโอรสคือวิหยาสะกำถูกสังคามาระตาฆ่าตาย กองทัพที่ล้อมเมืองดาหาก็แตกพ่ายไป เมื่อชนะศึกแล้ว อิเหนาก็ได้เข้าเฝ้าท้าวดาหาและได้พบกับบุษบา อิเหนาได้เห็นความงามของบุษบาก็หลงรักและเสียดาย พยายามหาอุบายอยู่ในเมืองดาหาต่อไป และพยายามหาโอกาสใกล้ชิดบุษบา โดยอาศัยสียะตราเป็นสื่อรัก อิเหนาพยายามหาวิธีการทุกทางเพื่อจะได้บุษบาเป็นของตน เช่นตอนที่ท้าวดาหาไปใช้บนที่เขาวิลิศมาหรา อิเหนาได้แอบสลักสารบนกลีบดอกปะหนัน (ลำเจียก) ให้นาง แอบเข้าไปในวิหารพระปฏิมา ตรัสตอบคำถามแทนพระปฏิมา ต้อนค้างคาวมาดับไฟแล้วแอบมากอดนาง ตลอดจนคาดคั้นมะเดหวีให้ช่วยเหลือตน เป็นต้น และเมื่อท้าวดาหาจะจัดพิธีอภิเษกระหว่างบุษบากับระตูจรกา อิเหนาก็ใช้วิธีการสุดท้ายโดยการทำอุบายเผาเมือง แล้วลอบพานางบุษบาหนีออกจากเมืองไปซ่อนในถ้ำที่เตรียมไว้ และได้นางเป็นมเหสี
เนื้อเรื่องตอนที่ 3 ปัญหาใหม่ และการมะงุมมะงาหรา
หลังจากอิเหนากับบุษบาเข้าใจกันแล้ว ก็เกิดความยุ่งยากใหม่ขึ้นกับตัวละครอีก เพราะองค์ปะตาระกาหลาทรงพิโรธอิเหนาที่ก่อเหตุวุ่นวายมาตลอด จึงดลบันดาลให้ลมหอบเอานางบุษบาพร้อมพี่เลี้ยงสองนาง ไปตกในเมืองปะมอตันขณะที่อิเหนาเข้าไปในเมืองดาหาเพื่อแก้สงสัย อิเหนากลับมาไม่พบบุษบาก็ปลอมองค์เป็นปันหยีออกตามหา พร้อมกับนำวิยะดาไปด้วยกับตน โดยให้ปลอมเป็นปันหยีชื่อเกนหลงหนึ่งหรัด ผ่านเมืองใดก็รบพุ่งเอาไปเป็นเมืองขึ้นไปตลอดรายทาง จนถึงเมืองกาหลัง จึงได้เข้าไปขอพักอาศัยอยู่ด้วยส่วนบุษบา หลังจากลมหอบไปยังเมืองปะมอตันแล้ว องค์ปะตาระกาหลา ก็สำแดงตนบอกเล่า เรื่องราวให้ทราบว่า นี่เป็นการลงโทษอิเหนา ทั้งสองจะต้องผจญความลำบากอยู่ระยะหนึ่ง จึงจะได้พบกันองค์ปะตาระกาหลาได้แปลงตัวบุษบาให้เป็นชาย มอบกริชจารึกพระนามว่ามิสาอุณากรรณ ให้มีความสามารถทางการรบ หลังจากนั้น อุณากรรณเดินทางเข้าเมืองปะมอตัน ท้าวปะมอตันรับเลี้ยงไว้เป็นโอรส ต่อมาอุณากรรณกับพี่เลี้ยงก็ยกพลออกเดินทางเพื่อตามหาอิเหนา ผ่านเมืองใดเจ้าเมืองไม่อ่อนน้อมก็รบพุ่งได้ชัยชนะหลายเมือง จนกระทั่งถึงเมืองกาหลัง ได้พบกับปันหยี ทั้งสองฝ่ายต่างก็แคลงใจว่าอีกฝ่ายคือบุคคลที่ตนเที่ยวหา แต่ก็ไม่กล้าเปิดเผยตัว ได้แต่สังเกตและคุมเชิงกันอยู่ที่เมืองกาหลัง ปันหยีและอุณากรรณได้เข้าอ่อนน้อมต่อท้าวกาหลัง ท้าวกาหลังก็ทรงโปรดทั้งสองเหมือนโอรส ต่อมามีศึกมาประชิดเมืองเพราะท้าวกาหลังไม่ยอมยกธิดา คือสะการะหนึ่งหรัดให้ ปันหยีและอุณากรรณอาสารบและสามารถชนะศึกได้อย่างง่ายดาย เหตุการณ์นี้ทำให้ปันหยี อุณากรรณและสะการะหนึ่งหรัดใกล้ชิดสนิดสนมกันมากยิ่งขึ้น ทำให้อุณากรรณกลัวความจะแตกว่านางเป็นหญิง กอปรกับต้องการติดตามหาอิเหนาต่อไป จึงทูลลาท้าวกาหลังกลับเมืองปะมอตัน แต่นางออกอุบายให้ทหารกลับเมืองตามลำพัง ส่วนนางกับพี่เลี้ยงหนีไปบวชชี (แอหนัง) เพื่อหาทางหลบหนีการตามพัวพันของปันหยีฝ่ายสียะตราแห่งเมืองดาหา ครั้นทำพิธีโสกันต์เสร็จก็แอบหนีพระบิดาปลอมตัวเป็นปัจจุเหร็จโจรป่าชื่อ ย่าหรัน ออกเดินทางหาอิเหนาและบุษบา องค์ปะตาระกาหลาแปลงเป็นนกยูงมาล่อย่าหรันไปถึงเมืองกาหลังได้เข้าเฝ้าและพำนักอยู่ในเมือง ต่อมาย่าหรันและปันหยีเกิดต่อสู้กัน เพราะเกนหลงหนึ่งหรัดเป็น ต้นเหตุ ในที่สุดอิเหนาและสียะตราก็จำกันได้ เพราะมองเห็นกริชของกันและกัน ต่อมาปันหยีทราบว่ามีแอหนังบวชบนภูเขา รูปงามละม้ายบุษบา จึงออกอุบายปลอมตัวเป็นเทวดาหลอกนางมายังเมืองกาหลัง เมื่อปันหยีพิศดูนางก็ยิ่งละม้ายนางบุษบา แต่พอเห็นกริชของนาง ชื่ออุณากรรณ ก็เข้าใจว่านางเป็นชายาของอุณากรรณ ฝ่ายพี่เลี้ยงของปันหยีคิดเล่นหนังทดสอบแอหนัง โดยผูกเรื่องตามชีวิตจริงของอิเหนากับบุษบาทุก ๆ ตอน นางแอหนังฟังเรื่องราวก็ร้องไห้คร่ำครวญ ทั้งสองฝ่ายจึงจำกันได้ อิเหนาจึงให้นางสึกจากชี ระเด่นทั้งสี่ คือ อิเหนา บุษบา สียะตรา และวิยะดา จึงพบกันและจำกันได้หลังจากดั้นด้นติดตามกันโดยปราศจากทิศทาง (มะงุมมะงาหรา) เสียนาน
เนื้อเรื่องตอนที่ 4 ปิดเรื่อง
กษัตริย์วงศ์เทวาได้มาพร้อมกัน ณ เมืองกาหลัง หลังจากทราบเรื่องและเข้าใจกันดีแล้ว จึงได้มีการ
อภิเษกสมรสกันขึ้นระหว่างคู่ตุนาหงันในวงศ์เทวา พร้อมทั้งอภิเษกธิดาระตูอื่น ๆ เป็นมเหสีกษัตริย์วงศ์เทวาจนครบตำแหน่ง เช่น อิเหนาอภิเษกกับบุษบาและจินตะหรา โดยบุษบาเป็นประไหมสุหรีฝ่ายซ้าย จินตะหราเป็นประไหมสุหรีฝ่ายขวา สะการะวาตีเป็นมะเดหวีฝ่ายขวา มาหยารัศมีเป็นมะเดหวีฝ่ายซ้าย บุษบาวิลิศเป็นมะโตฝ่ายขวา บุษบากันจะหนาเป็นมะโตฝ่ายซ้าย ระหนากะระติกาเป็นลิกูฝ่ายขวา อรสานารีเป็นลิกูฝ่ายซ้าย สุหรันกันจาส่าหรี เป็นเหมาหลาหงีฝ่ายขวา หงยาหยาเป็นเหมาหลาหงีฝ่ายซ้าย สียะตราอภิเษกกับวิยะดา สุหรานากงกับสะการะหนึ่งหรัด กะหรัดตะปาตีกับบุษบารากา สุหรานากงครองเมืองสิงหัดส่าหรี กะหรัดตะปาตีครองเมืองกาหลัง.
วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2556
หลักภาษาไทย
หลักภาษาไทย
รักการอ่าน |
อักขระวิธี ได้แก่ อักษร แปลว่า ตัวหนังสือ
๑. เสียงแท้ ได้แก่ สระ
๒. เสียงแปร ได้แก่ พยัญชนะ
๓. เสียงดนตรี ได้แก่ วรรณยุกต์
สระในภาษาไทย ประกอบด้วยรูปสระ ๒๑ รูป และเสียงสระ ๓๒ เสียง
พยัญชนะ
๓.๑ อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ
๓.๒ อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
วรรณยุกต์
๑. ไม้เอก
๒. ไม้โท
๓. ไม้ตรี
๔. ไม้จัตวา
เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ เสียง
๑. เสียงสามัญ คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา มา ทา เป็น ชน
๒. เสียงเอก ก่า ข่า ป่า ดึก จมูก ตก หมด
๓. เสียงโท เช่น ก้า ค่า ลาก พราก กลิ้ง สร้าง
๔. เสียงตรี เช่น ก๊า ค้า ม้า ช้าง โน้ต มด
๕. เสียงจัตวา เช่น ก๋า ขา หมา หลิว สวย หาม ปิ๋ว จิ๋ว
คำเป็น คือ คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว) ในแม่ ก กา เช่น กา กี กื กูคำตาย คือ คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น) ในแม่ ก กา เช่น กะ กิ กุ
คำเป็น คือ พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา และพยางค์ที่มีตันสะกดใน แม่ กน กง กม เกย และสระ อำ ไอ ใอ เอา
เช่น ควาย ไล่ ขวิด ข้าง ขวา คว้า ขวาน มา ไล่ ขว้าง ควาย ไป ควาย ขวาง วิ่ง วน ขวักไขว่ กวัดแกว่ง ขวาน ไล่ ล้ม คว่ำ ขวาง ควาย.
อักษรควบไม่แท้ คือ อักษร ๒ ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว ร แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง ร หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น เช่น เศร้า ทราย จริง ไซร้ ปราศรัย สร้อย เสร็จ เสริม ทรง สร้าง สระ
แม่ + น้ำ = แม่น้ำ แปลว่า ทางน้ำไหล
ลักษณะอักษร เสียงในภาษาไทย มีอยู่ ๓ อย่าง คือ
สระ
รูปพยัญชนะ มี ๔๔ ตัว คือ
๑. อักษรสูง มี ๑๑ ตัว คือ ข ข ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
๒. อักษรกลาง มี ๙ ตัว ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
๓. อักษรต่ำ มี ๒๔ ตัว คือ
๓.๑ อักษรคู่ คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี ๑๔ ตัว คือ ค ค ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ๓.๒ อักษรเดี่ยว คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน มี 10 ตัว คือ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
คำเป็นคำตาย
คำสนธิ คือ การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท เช่น
ปิตุ + อิศ เป็น ปิตุเรศ
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม
มหา + อิสี เป็น มเหสี
คำสมาส คือ การนำคำประสมตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี,
ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ความหมายคงเดิมก็มี เช่น
ราช + โอรส เป็น ราชโอรส
สุธา + รส เป็น สุธารส
คช + สาร เป็น คชสาร
คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา กก กด กบ แต่ยกเว้นสระ อำ ไอ ใอ เอา
อักษรควบ คือ พยัญชนะ ๒ ตัว ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน เช่น เพลา เขมา
อักษรควบแท้ คือคำที่ควบกับ ร ล ว
อักษรนำ คือ พยัญชนะ ๒ ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น หนู หนอ หมอ หมี อย่า อยู่ อย่าง อยาก หรือบางคำออกเสียงเหมือน ๒ พยางค์ เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง แต่พยัญชนะ ๒ ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ เช่น กนก ขนม จรัส ไสว ฉมวก แถลง ฝรั่ง ผนวก
คำมูล คือ คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว เช่น ชน ตัก คน วัด หัด ขึ้น ขัด
คำประสม คือ การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง เช่น
หาง + เสือ = หางเสือ แปลว่า ที่บังคับเรือ
ลูก + น้ำ = ลูกน้ำ
พยางค์ คือ ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้
พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
๑. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ เช่น ตา ดี ไป นา
๒. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด เช่น คน กิน ข้าว หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์ เช่น โลห์ เล่ห์
๓. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น รักษ์ สิทธิ์ โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า ประสม ๕ ส่วน
วลี คือ กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ และมีความหมายเป็นที่รู้กัน
เช่น การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
เช่น การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค คือ กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์ เช่น
๑. ประโยค ๒ ส่วน ประธาน + กริยา
นก บิน
๒. ประโยค ๓ ส่วน ประธาน + กริยา + กรรม
ปลา กิน มด
วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556
การเขียนคำไทย
การเขียนคำไทย
ปัจจุบันการเขียนคำผิดเป็นปัญหาที่พบมากในสื่อสารมวลชนประเภทต่างๆ และการใช้ภาษาของบุคคลทั่วไป ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์ (๒๕๒๖ : ๑๐๑ - ๑๐๕) ได้ประมวลถึงสาเหตุของการเขียนผิดไว้สรุปได้ ดังนี้
๑. การเขียนคำผิดเพราะคำเหล่านั้นออกเสียงเหมือนกัน แต่มีความหมายคนละอย่างและเขียนต่างกัน ทำให้ผู้ใช้ภาษามักสับสนและใช้คำปนกัน เพราะจำความหมายของคำที่ต้องการเขียนไม่ได้ เช่น
คำว่า ขั้น และ คั่น สิน " สินธุ์ ฉัน " ฉันท์ พัน " พันธุ์ |
คำว่า ราด และ ลาด รัก " ลัก |
๔. ใช้แนวเทียบผิด เช่น คำว่า ญาติ และอนุญาต สัญชาติ และสัญชาตญาณ บุคคล และบุคลิก เป็นต้น
๕. เขียนผิดเพราะมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในการเขียน แต่ผู้เขียนติดรูปเดิมของคำบางคำ เช่น คำว่า พงศ์ เดิมใช้ ษ์ ปัจจุบันใช้ ศ์ คำว่า เบียดเบียน เคยใช้ ฬ สะกด คือเขียน เบียดเบียฬ
๖. คำบางคำมีความหมายอย่างเดียวกัน ออกเสียงเหมือนกันหรือคล้ายกัน แต่เขียนต่างกัน คำเหล่านี้ถึงแม้ว่าจะมีความหมายอย่างเดียวกันแต่มีที่ใช้ต่างกัน ผู้ใช้ภาษาต้องรู้ว่า เมื่อใดจะใช้รูปใด คือรู้ว่าจะเขียนรูปใดในคำแวดล้อมอย่างใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความนิยมของสังคม เช่น
คำว่า ศูนย์ และ สูญ มารยาท " มรรยาท ภริยา " ภรรยา วิชา " วิทยา |
๗. คำบางคำเขียนได้มากกว่า ๑ รูป เช่น กรรไกร อาจจะใช้ว่า กรรไกร กรรไตร หรือตะไกร ก็ได้
คำว่า ระบัด ระบบ ระบือ ระลอก อาจใช้ ละ และ ระ ได้ดังนี้ ละบัด ละบือ และละลอก คำว่า ยนต์ จะเขียน ยนต์ หรือ ยนตร์ ก็ได้ เช่น รถยนต์ ภาพยนตร์ |
๘. เขียนผิดเพราะเขียนตามเสียงอ่าน เช่น
ปรารถนา ออกเสียงว่า ปราด-ถะ-หนา มักเขียนผิดเป็น ปราถนา ศีรษะ " สี-สะ มักเขียนผิดเป็น ศรีษะ |
หลักการเขียนคำสมาส
คำสมาสซึ่งเกิดจากการนำคำบาลีกับบาลี หรือคำบาลีกับสันสกฤต หรือสันสกฤตกับสันสกฤต มารวมกันเพื่อสร้างคำใหม่ในภาษา เช่น
วิสาขะ (บาลี) + บูชา (บาลี) = วิสาขบูชา ศัลยะ (สันสกฤต) + กรรม (สันสกฤต) = ศัลยกรรม กิตติ (บาลี) + ศัพท์ (สันสกฤต) = กิตติศัพท์ |
๑. ถ้าพยางค์สุดท้ายของคำแรกมีประวิสรรชนีย์ (ะ) เวลาเขียนให้ตัด ออก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
อิสรภาพ ธนสมบัติ ศิลปศาสตร์ พันธกิจ รัตนโกสินทร์ ภารกิจ ศิลปกรรม พลศึกษา คณบดี กาญจนบุรี
๒. ถ้าพยางค์สุดท้ายของคำแรกของคำสมาสมีเครื่องหมายทัณฑฆาต ( ์ ) เวลาเขียนให้ตัดออก ดังตัวอย่างต่อไปนี้ ทรัพยสิทธิ ครุศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตร์ มนุษยชาติ ไปรษณียภัณฑ์ สัมพันธภาพ พิพิธภัณฑสถาน อนุรักษนิยม
หลักการเขียนคำที่ออกเสียง อะ
การเขียนคำที่ออกเสียง อะ เขียนได้ ๒ วิธี คือ ประวิสรรชนีย์ เช่น สะดวก สะอาด และไม่ประวิสรรชนีย์ เช่น ตวาด ชอุ่ม สบู่ เป็นต้น คำที่ประวิสรรชนีย์มีหลักในการสังเกต ดังนี้
๑. คำไทยแท้ทุกคำที่ออกเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น กะทิ กระพรวน กระทะ ปะขาว ทะนง ทะนาน มะลิ กระชับ ตะแคง ชะลอ ละไม คะมำ ตะโกน ขยะ ขะมุกขะมอม
๒. คำซึ่งเกิดจากการกร่อนเสียงมาเป็นเสียง อะ ให้ประวิสรรชนีย์ ดังนี้
๒.๑ กร่อนเสียงจาก ต้น เป็น ตะ เช่น
ต้นเคียน เป็น ตะเคียน ต้นไคร้ เป็น ตะไคร้ ต้นแบก " ตะแบก ต้นคร้อ " ตะคร้อ ฯลฯ |
หมากเฟือง เป็น มะเฟือง หมากม่วง " มะม่วง หมากพร้าว " มะพร้าว หมากดัน " มะดัน ฯลฯ |
ตัวเข้ เป็น ตะเข้ ตัวเข็บ " ตะเข็บ ตัวกวด " ตะกวด ฯลฯ |
นอกจากนี้คำกร่อนจากคำซ้ำ (อัพภาส) เป็นเสียงอะในคำแรก ซึ่งเป็นคำซ้ำในคำประพันธ์ ให้ประวิสรรชนีย์ เช่น ยะยิบ (ยิบยิบ) ระเรื่อย (เรื่อยเรื่อย) ระรัว (รัวรัว) ฯลฯ
๒.๕ คำที่มี ๓ พยางค์ ซึ่งออกเสียง อะ ในพยางค์ที่ ๒ มักประวิสรรชนีย์ เช่น รัดประคด บาดทะยัก เจียระไน สับปะรด คุดทะราด เป็นต้น
๒.๖ คำที่ยืมจากภาษาบาลี - สันสกฤต ถ้าออกเสียงอะที่พยางค์ท้ายของคำ ให้ประวิสรรชนีย์ที่พยางค์ท้ายของคำนั้น เช่น สาธารณะ ลักษณะ สรณะ อิสระ สัมปชัญญะ พละ อักขระ ภาชนะ ฯลฯ
ตัวอย่างคำที่ประวิสรรชนีย์ ได้แก่
ชะตา ชะงัก สะคราญ ทะนง คะนึง สะอื้น สะดุด สับปะรด สะอาด สะพาน ชะล่า สะกด จะละเม็ด ฉะนั้น มักกะสัน ประณีต พะทำมะรง สะเพร่า สะพัด สะบัด สะระตะ สะระแหน่ สะอิดสะเอียน สะลึมสะลือ จระเข้ สะตอ ตะลีตะลาน ตะลุมบอน ตะขิดตะขวง ชะรอย ซังกะตาย ธุระ ศิลปะ อารยะ สัจจะ ละเอียด รำมะนาด อังกะลุง |
อารยธรรม ศิลปกรรม ธุรกิจ คณบดี อิสรภาพ ปิยมหาราช พลศึกษา อาชีวศึกษา จริต จรุง ลออ สบาย สูบ่ ขมา ปรัมปรา พนัน ทมิฬ ตวัด ฉบับ ฉบัง ฉมัง ฉวัดเฉวียน สลัว สลอน สลอด สลวย สลัก สราญ สลุต สว่าน เสนาะ อหังการ อสรพิษ ทวาร ฉลาด ถวิล ชโลม |
๑. คำที่ใช้สระ ใอ (ไม้ม้วน) แต่โบราณกำหนดว่าคำไทยแท้เพียง ๒๐ คำเท่านั้น ที่เขียนด้วยสระ ใ ดังที่โบราณาจารย์ผูกไว้เป็นคำประพันธ์เพื่อช่วยความจำ ดังนี้
ใฝ่ใจให้ทานนี้ นอกในมีและใหม่ใส ใครใคร่และยองใย อันใดใช้และใหลหลง ใส่กลสะใภ้ใบ้ ทั้งต่ำใต้และใหญ่ยง ใกล้ใบและใช่จง ใช้ให้คงคำบังคับ (ประถมมาลา) |
๒. คำที่ใช้สระ ไอ (ไม้มลาย) มีหลักการใช้ ดังนี้
๒.๑ ใช้กับคำไทยทั่วไปนอกจากคำที่ใช้สระ ใ (ไม้ม้วน) ๒๐ คำ
๒.๒ ใช้กับคำที่แผลงจากคำเดิมที่เขียนด้วย สระ อิ อี และ เอ ในภาษาบาลี สันสกฤต เช่น ระวิ แผลงเป็น รำไพ วิจิตร แผลงเป็น ไพจิตร ตริ " ไตร วิหาร " ไพหาร
๒.๓ ใช้กับคำที่ยืมมาจากคำต่างประเทศทุกภาษา เช่น ไอศกรีม ไมล์ สไลด์ ไวโอลิน ไต้ฝุ่น ไผท อะไหล่ ฯลฯ
ตัวอย่างคำที่ใช้สระ ไอ (ไม้มลาย) ได้แก่
ไจไหม ร้องไห้ ไนกรอด้าย ปลาไน เสือกไส ไสไม้ ตะไคร่ ตะไคร้ ใส่ไคล้ ไยไพ ไยดี ลำไย หยากไย่ สลัดได เหลวไหล น้ำไหล จุดไต้ ตะไบ ลำไส้ ไขกุญแจ ไดโนเสาร์
๓. คำที่ใช้สระ อัย (อัย) ใช้กับคำที่ยืมจากภาษาบาลี - สันสกฤต ซึ่งเดิมออกเสียง อะ และมี ย ตามหลังเท่านั้น เช่น
ชย ไทยใช้ ชัย ภย ไทยใช้ ภัย อาลย " อาลัย อุทย " อุทัย อภย " อภัย นย " นัย |
เวเนยย ไทยใช้ เวไนย (เวไนยสัตว์) อสังเขยย ไทยใช้ อสังไขย อธิปเตยย " อธิปไตย เทยยทาน " ไทยทาน |
การใช้พยัญชนะเสียง /สอ/ ในภาษาไทยมีหลักเกณฑ์การเขียน ดังนี้
๑. คำไทยแท้ทั่วไปนิยมเขียนด้วย ส เช่น เสื้อ เสือ สดใส เสียม เป็นต้น ยกเว้นคำไทย และคำยืมบางคำที่เขียนมาแต่โบราณใช้ ศ และ ษ บ้าง จึงยังคงใช้รูปเขียนเหล่านั้นอยู่ในปัจจุบัน เช่น
ศ : ศอ ศอก เศิก ศึก เศร้า บำราศ ปราศจาก ฝรั่งเศส เลิศ ไอศกรีม ษ : กระดาษ โจษจัน ดาษดา ดาษดื่น ฝีดาษ เดียรดาษ อังกฤษ |
๓. คำที่มาจากภาษาสันสกฤต มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๓.๑ พยัญชนะ ศ เขียนหน้าพยัญชนะวรรค จะ และ หน้าพยัญชนะเศษวรรคบางรูป ดังนี้
๓.๑.๑ เขียนหน้าพยัญชนะวรรค จะ เช่น พฤศจิกายน อัศจรรย์ อัศเจรีย์ ๓.๑.๒ เขียนหน้าพยัญชนะเศษวรรค เช่น เทเวศร พิฆเนศวร์ แพศยา โศลก อัศวิน อาศรม |
๓.๒.๑ เขียนหน้าพยัญชนะวรรค ฏะ เช่น กนิษฐา โฆษณา ดุษฎี ราษฎร ทฤษฎี โอษฐ์ ๓.๒.๒ เขียนหน้าพยัญชนะวรรคอื่น เช่น เกษตร บุษกร บุษบก บุษบา พฤษภาคม ๓.๒.๓ เขียนหน้าพยัญชนะเศษวรรคบางรูป เช่น บุษยา ศิษย์ บุษยมาส อักษร บุษรา |
๓.๓.๑ เขียนหน้าพยัญชนะวรรค ตะ เช่น พัสดุ พิสดาร ภัสดา วาสนา สถาน สัสดี สวัสดี สตรี อัสดง ๓.๓.๒ เขียนหน้าพยัญชนะเศษวรรค เช่น ประภัสสร มัสลิน สุรัสวดี มัตสยา |
คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกัน และมีความหมายแตกต่างกันด้วย การเขียนคำพ้องเสียงจึงอยู่ที่การสังเกตและจดจำความหมายของคำเป็นหลัก คำพ้องเสียงในภาษาไทยมีอยู่เป็นจำนวนมาก จึงยกตัวอย่างมาเป็นเครื่องสังเกต ดังนี้
/กาน/ เมืองกาญจน์ กานไม้(ตัดไม้) กิจการ แถลงการณ์ ประสบการณ์ ฤดูกาล กาฬโรค มหากาฬ กลอนกานท์(บทกลอน) /เกียด/ มีเกียรติ เกียรติยศ รังเกียจ ขี้เกียจ เกียจคร้าน เกียดกัน /สูด/ สูดดม สูตรคูณ ชันสูตร พหูสูต พิสูจน์ /น่า/ หน้าร้อน หน้าหนาว หน้าต่างน่ารัก น่ายกย่อง น่ากิน /โจด/ โจทก์จำเลย โจทย์เลข พูดโจษ โจษขาน /พัน/ พันผ้า ผูกพัน ละครพันทาง บทประพันธ์ ผิวพรรณ เผ่าพันธุ์ พรรณนา กรรมพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ พรรดึก ภรรยา /มุก/ ไข่มุก หน้ามุข ประมุข มุกดา /เพด/ อาเพศ เพศชาย ลักเพศ เบญจเพส สมเพช ประเภท สามัคคีเภท /ขัน/ ขันน้ำ ขันธ์๕ ประจวบคีรีขันธ์ พระขรรค์ เขตขันฑ์ ขัณฑสกร แข่งขัน ขำขัน /นาด/ ระนาด นวยนาด สีหนาท นาถ(ที่พึ่ง) วรนาถ นงนาฏ นาฏศิลป์ พินาศ /ดิด/ บัณฑิต ประดิษฐ์ ประดิดประดอย อุตรดิตถ์ กาญจนดิษฐ์(ชื่ออำเภอ) |
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556
เรื่องเจ้าสุวัตร์
เรื่องย่อ
เรื่องเจ้าสุวัตร์
ณ
เมืองพาราณสีเจ้าเมืองชื่อท้าวอาทิตย์มีมเหสีชื่อนางต๊ะเทวี
นางอยากได้โอรสและได้ฝันว่าพระอินทร์ให้หมากกั๊บตองนางได้กินแล้วทิ้งเม็ดลงพื้นแม่ม้าก็ได้กินเม็ดนั้นเข้าไปจากนั้นนางก็ตั้งครรภ์ราชโอรสชื่อสุวัตร์ส่วนแม่ม้าก็คลอดลูกเป็นม้ากัณฐัก
สุวัตร์นั้นมีเท้าเป็นรูปจักรวาล กงจักร สัตตภัณท์ และดอกบัว
และในวันนั้นก็มีกุมารคลอดถึงแสนคน เมื่อสุวัตร์อายุได้ 16 ปี โหรทำนายว่าจะต้องพลักพรากจากบ้านเมือง
ท้าวอาทิตย์ให้สุวัตร์เลือกคู่ แต่สุวัตร์ไม่เลือกใคร
มีฤาษีตนหนึ่งอยู่ในป่าหิมมะวัน ได้เด็กหญิงในดอกบัวเลี้ยงไว้ตั้งชื่อว่าบัวคำ
วันหนึ่งนางร้อยพวงมาลัยแล้วอธิฐานให้ลอยไปหาเนื้อคู่
มาลัยลอยไปสวมมือสุวัตร์ซึ่งเล่นน้ำอยู่
สุวัตร์จึงลาพระบิดาและมารดาขี้ม้ากัณฐัก ตามหาเจ้าของพวงมาลัยจนพบนางบังคำ
ฤาษีจึงยกนางให้เป็นคุ่ครองก็อยู่ด้วยกัน ม้ากัณฐักและผ่านเมืองยักษ์ ยักษ์โกรธจึงจับม้าขังไว้
วันหนึ่งสุวัตร์และบัวคำไปหาผลไม้
มีพรานป่าเห็นนางจึงอยากได้ ใช้ธนุยิงสุวัตร์สลบไป
พรานพานางเดินทางไปแห่งหนึ่ง พรานนอนหลับ
นางจึงฆ่าพรานแล้วออกตามหาสุวัตร์ ฤาษีมาพบสุวัตร์ก็รักษาให้ฟื้น
แส้วสอนมต์คาถาแล้วให้ดาบกัญชัย
แล้วฤาษีเดินทางไปพบนางสมุดต๊ะจาที่ตายสุวัตร์จึงรักาให้ฟื้นและได้เป็นภรรยา
นางได้พาสุวัตร์ไปเมืองยักษ์ได้พบกับนางศุภลักษณ์ลูกสววยยักษ์
จึงได้เป็นภรรยาอีกคน
แล้ววันหนึ่งสุวัตร์เพบม้ากัณฐักแล้วควบม้าหนี
ยักษ์ตามมามากมายสุวัตร์ฆ่ายักษ์ตายหมดแล้วหนีไป
ส่วนนางบัวคำตามหาสุวัตร์ไปพบพ่อค้าสำเภา
พวกพ่อค้าอยากได้นางไปอยู่ด้วย
เมื่อพ่อค้าหลับหมดนางก็หนีไปไปพบกับนางศุลักษณ์ตกกลางทะเล
นางบัวคำช่วยไว้ทั้งสอนจึงรู้จักกัน นางบัวคำซึ้งตั้งภรรภ์แก่คลอดลูกเป็นชาย
มังูตั๊บตานกัดนางตาย
นางศุภลักษณ์เสี้ยงลูกนางบัวคำไว้เดินทางต่อไป
มีเจ้าเมืองหนึ่งมาล่าเนื้อเห็นนางบัวคำตายกลางทางก็ให้หมอรักษาจนนางฟื้น
แล้วพานางไปอยู่ในเมือง
นางศุภลักษณ์นั้นเทวดาเนรมิตปราสาทให้อยู่และเนรมิตบ้านเมืองให้ปกครอง
นางคลอดลูกชายชื้อไจยา ตั้งชื่อลูกนางบัวคำว่าทุกขะกุมาร
สวนสุวัตร์กับม้ากัณฐักเดินทางมาพักใต้ร่มไม้ เห็นครุฑคาบนาคผ่านมาสุวัตร์จึงช่วยนาครักษานาคให้ฟื้นขึ้นกลายเป็นคน
นาคชวนสุวัตร์ไปส่งเมืองนาคและยกยกลูกสาวชื่อสุคันภาให้ อยู่เมื่องนาคพอสมควร
ก็ออกตามหานางบัวคำต่อไป มาถึงเกาะทรายแห่งหนึ่ง ซึ้งเป็นที่อยู่ของนางกินรี
จึงใด้นางกินรีเป็นภรรยาอีก ก็ออกตามหานางบัวคำอีกจนถึงเมืองจำปาได้พบนางบัวคำ
พานางไปรับภรรยาและกุมารทั้งสอง ฤาษี ทั้งหมด กลับเข้าเมืองพารามีสุขสืบมา
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556
สำนวนไทย
สำนวนไทย
ลักษณะของสำนวนไทย สำนวนไทย หมายถึง คำกล่าวหรือถ้อยคำคมคายสั้นๆที่ผูกเข้าเป็นประโยคหรือวลี(กลุ่มคำ)มีความหมายกระชัดรัดกุม แต่มีความหมายเป็นนัย มีความลึกซึ้งและมีความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ โดยแบ่งออกเป็นสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ดังอธิบายพอสังเขป ดังนี้
สำนวน คำว่าสำนวน หมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้วมีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ลักษณะทั่วไปของสุภาษิต สำนวนไทย
๑. เป็นคำสั้นๆ ง่ายๆ หรือคล้องจองกันเพื่อให้จดจำได้ง่าย
๒. เป็นคำบอกเล่ากลางๆ ไม่เป็นคำสั่งหรือการบังคับ
๓. ยั่งยื่นอยู่ในความทรงจำของคนทั่วไป
๔. เป็นจริงตามปกติวิสัยมนุษย์ทั่วไป
หน้าที่ของภาษิตสำนวนไทย
คนไทยแต่เดิมไม่มีโรงเรียนไม่มีครูสอนก็ได้อาศัยภาษิตสำนวนเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจ ให้งดเว้นในสิ่งที่ควรงด กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ เพราะสำนวนเหล่านี้เกิดมานานและคงเกิดจากประสบการณ์ของคนในรุ่นก่อนๆนั้นเอง จึงเป็นเครื่องเตือนใจ บอกแนวทางดำเนินที่ถูกที่ควรให้แก่คนรุ่งหลัง หรือแนะนำเป็นเชิงสั่งสอน เช่น
ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
ภาษิตสำนวนไทยยังเป็นสิ่งวิพากษ์วิจารณ์กระทำและพฤติกรรมของมนุษย์ แต่มักจะไม่กล่าวออกมาตรงๆ มักจะกล่าวอ้อมๆโดยนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ผู้ฟังจะต้องคิดจึงจะเข้าใจในประการนี้ จะช่วยให้คนปัจจุบันมองเห็นแนวนิยมและแนวความคิดของคนไทยโบราณ ได้ว่านิยมหรือสรรเสริญสิ่งใด รังเกียจดูถูกสิ่งใด โดยสังเกตจากภาษิต สำนวน เช่น
ผู้ดีว่า ขี้ข้าพลอย พูดไปสองไพ นิ่งเสียตำลังทอง หวานเป็นลม ขมเป็นยา มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่
นอกจากนั้นภาษิตสำนวนเหล่านี้ ยังแสดงความเป็นจริงของชีวิตปกติของโลกอีกด้วย เช่น
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง กงเกียง กำเกวียน
สำนวนภาษิตไทยนี้ต่อๆ มาเมื่อการคมนาคมเจริญมากขึ้น เรามีการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้นก็ได้รับภาษิตจากประเทศทางตะวันตกมาใช้ด้วย เช่น กรุงโรมไม่ได้สร้างในวันเดียว เป็นต้น ภาษิตสำนวนไทยนี้มีบางท่านได้นำมาผูกเรื่องเป็นนิทานประกอบก็มี เช่น พระสุวรรณรัศมี แต่งนิทานเทียบสุภาษิตไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องเลี้ยงช้างกินขี้ช้าง กินปูร้องท้อง หนามยอกเอาหนามบ่ง เป็นต้น
คุณค่าของภาษิตสำนวนไทย
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน ได้กล่าวถึงคุณค่าของสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนไว้ว่ามีประโยชน์หลายประการ คือ
๑. เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนละชี้แนะให้เป็นคนดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านความรัก การสมาคม การครองเรือน การศึกษา การพูดจา ดังตัวอย่างในด้านความรักและการครองเรือน เช่น คู่กันแล้วไม่แคล้วกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราในด้านการสมาคม เช่น คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ น้ำขุนไว้ในน้ำใส่ไว้นอกในด้านการศึกษาอบรม เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ฝนทั่งให้เป็นเข็ม สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยากในด้านการพูดจา เช่น พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
๒.ช่วยสะท้อนให้เห็นความคิดความเชื่อ ของคนในสังคมไทยหลายประการ ดังตัวอย่างความเคารพนบนอบผู้ใหญ่ และความเชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้นำของครอบครัว เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ผัวเป็นช้างเท้าหน้า เมียเป็นช้างเท้าหลัง ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อเลียชีพอย่าเสียสัตย์
๓.สะท้อนให้เห็นภาวะความเป็นอยู่ของสังคมในด้านต่างๆ ตัวอย่าง เช่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น นุ่งเจียมห่อเจียม มีสลึกพึงประจบให้ครบบาทอย่าเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้างเกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น อย่าหมายน้ำบ่หน้า น้ำขึ้นให้รีบตักเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ เช่น เมืองลุงมีดอน เมืองคอนมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่ เป็นสำนวนปักษ์ใต้ที่บอกสภาพจังหวัด พัทลุงว่าเป็นที่ดอน จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นท่าน้ำ จังหวัดตรงมีนามาก และจังหวัดสงขลามีบ่มาก
๔.ชี้ให้เห็นว่าคนไทยกับธรรมชาติเกี่ยวพันอย่างมาก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ น้ำ มาตั้งเป็นภาษิตสำนวน คำพังเพยต่างๆ เช่น วัวแก่กินหญ้าอ่อน น้ำตาลใกล้มด ดินพอกหางหมู ปากหอยปากปู มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น อ้อยเข้าปากช้าง วัวลืมตีน น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
๕. ช่วยให้เราใช้ภาษาได้เหมาะสมและสละสลวยน่าสนใจ และเรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว อันจะทำให้เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีขึ้น ช่วยทำให้เกิดความรัก ความเห็นใจกันไม่เกิดการแบ่งแยกแตกเหล่า ลักษณะของสำนวน จำแนกได้ดังนี้
๑. มีลักษณะเป็นโวหารและมีเสียงสัมผัสกัน กล่าวคือ สำนวนที่มีลักษณะไพเราะด้วยการซ้ำคำ หรือมีสัมผัสคล้องจองกันทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระอยู่ในสำนวนนั้นๆ เช่น-ก่อ ร่างสร้าง ตัว มีสัมผัสสระ อา ระหว่างคำว่า ร่าง-สร้าง-ขับ ไล่ไส ส่ง มีสัมผัสสระไอ ระหว่างคำว่า ไล่ ไส-หลับ หู หลับ ตา มีการเล่นคำซ้ำกัน คือคำว่า หลับ-หาม รุ่งหาม ค่ำ มีการเล่นคำซ้ำกัน คือคำว่าหาม
๒.มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆดังนี้
อุปมาคือ สิ่งหรือข้อความที่ยกมาเปรียบสิ่งหนึ่งว่าเหมือนอีกสิ่งหนึ่ง และลักษณะที่เปรียบอีกสิ่งหนึ่งนั้นเป็นลักษณะเฉพาะ โดยส่วนมากมักจะมีคำว่า เหมือน เปรียบเหมือน ดุจ ดัง ประดุจ หรือ เปรียบเสมือนส่วนอุปไมย คือ สิ่งหรือข้อความที่พึงเปรียบเทียบกับสิ่งอื่นเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้งใช้คู่กับอุปมา ยกตัวอย่างสำนวนที่มีลักษณะอุปมาอุปไมย เช่น
-แก้มแดงเป็นลูกตำลึงสุก เป็นการกล่าวเปรียบลักษณะของอาการแก้มแดงบนใบหน้า-เงียบเหมือนเป่าสาก เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความเงียบ-ใจกว้างเหมือนแม่น้ำ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะนิสัยของคนที่ใจกว้าง-ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง-ขมเหมือนบอระเพ็ด เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความขมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๓.มีลักษณะเป็นคำคมหรือคำกล่าวที่ให้แง่คิดต่างๆดังนี้
คำคม คือ ถ้อยคำที่เป็นคารม หรือโวหารอันคมคายเป็นคำพูดที่ให้แง่คิดมีความหมายลึกซึ้งกินใจ ทั้งนี้คำคมเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย จะเป็นคำพูดที่ใครๆก็สามารถพูดได้หรืออาจจะเป็นคำคมของนักปราชญ์ บุคคลสำคัญผู้มีชื่อเสียงก็ได้ คำคมมักจะใช้กันอย่างแพร่หลายมากกว่าสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย เช่น-มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน (สุนทรภู่)-รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา ไปเบื้องหน้าเติบใหญ่จะให้คุณ (สุนทรภู่)-คำโบราณท่านว่าช้าเป็นการ ถึงจะนานก็เป็นคุณอย่าวุ่นวาย(สุนทรภู่)-ไม่มีคำว่าแก่เกินไปสำหรับการเรียน-อกหักดีกว่ารักไม่เป็น
๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างๆทำให้สัตว์หรือสิ่งต่างๆเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง นกรู้ น้ำพึ่งเรือ เสือผึ่งป่า วันลืมตีน กระต่ายตื่นตูม กิ้งก่าได้ทอง น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ตาลุกตาชัน
สุภาษิต
สุภาษิตหมายถึง ข้อความหรือถ้อยคำสั้นๆมีความกะทัดรัด มักมีความหมายไปในทางแนะนำสั่งสอน มีคติสอนใจ ให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ่งสามารถพิสูจน์เชื่อถือได้ ลักษณะของสุภาษิต สุภาษิตมักจะเป็นข้อความสั้นๆใช้คำง่ายๆแบบเอกรรถประโยคหรือเป็นประโยคยาวแบบอเนกรรถประโยคก็ได้และมักจะมีลักษณะเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
๑.สุภาษิตของนักปราชญ์ต่างๆรวมถึงพุทธภาษิต เช่น -ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว-ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤตธรรม-ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี-จงเตือนตนเองด้วยตนเอง-ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์-จงรักษาความดีประดุจเกลือรักษาความเค็ม-บุคคลหว่านพืชใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น-พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ-ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
๒.สุภาษิตชาวบ้าน เป็นสุภาษิตที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กล่าว เช่น
-นอนสูงให้นอนคว่ำ นอนต่ำให้นอนหงาย-ยิ่งหยุดยิ่งไกล ยิ่งไปยิ่งแค่(แค่ แปลว่า ใกล้ เป็นภาษาปักษ์ใต้)ขอย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ อย่ารักถ้ำกว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน-ผู้ที่โกรธไม่เป็นเป็นคนโง่ แต่ผู้ที่ไม่โกรธเป็นคนฉลาด คำพังเพยคำพังเพยหมายถึง ถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวนลักษณะติชม หรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ไม่ถึงกับคำสอน ลักษณะของคำพังเพยคำพังเพยมีลักษณะคล้ายสุภาษิต แต่ไม่ได้เป็นคติสอนใจ เพียงแต่เป็นคำกล่าวที่มีลักษณะติชมและแสดงความคิดเห็นอยู่ในตัว โดยมากจะมีความหมายซ่อนอยู่ ดังนั้นการใช้คำพังเพยจะต้องตีความหมายให้เข้ากับสถานการณ์ เช่น
-ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน-ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำความดี แล้วคนอื่นมองไม่เห็น-ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลเล็กน้อย-มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึง ไม่ช่วยทำแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
เรื่องของสำนวน สุภาษิต คำพังเพยในที่นี้ผู้เขียนไม่ประสงค์จะให้ผู้อ่านเพ่งเล็งในเรื่องของการแบ่งแยกประเภทสำนวน สุภาษิต คำพังเพยออกจากกันเสียที่เดียว จึงขอเรียกรวมกันว่าสำนวนไทย เนื่องจากคำกำจัดความบางข้อความไม่สามารถชี้ชัด หรือแบ่งแยกลักษณะออกจากกันได้ เพราะข้อความหรือกลุ่มคำดังกล่าวยังมีลักษณะที่เป็นทั้งสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย อยู่ในตัว เช่น
น้ำขึ้นให้รีบตัก เป็นสำนวนได้ เพราะมีความหมายไม่ตรงตามตัว อักษร เป็นสุภาษิตได้ เพราะให้คติสอนใจว่า เมื่อมีโอกาสทำอะไร ต้องรีบทำเพื่อ ให้ได้รับผลสำเร็จโดยเร็ว เป็นคำพังเพยได้ เพราะกล่าวติคนทำไม่ดี มูลเหตุและที่มา
สำนวนไทยอาจเป็นวลี ประโยค หรือกลุ่มคำที่มีลักษณะคล้องจองกันนั้น มีมูลเหตุและที่มาจากหลายประการ ตามลักษณะของประเพณี วัฒนธรรม พฤติกรรม นิสัยการกินอยู่ของคนในสังคม รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติความเป็นมาจากศาสนา เหตุการณ์ในวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ซึ่งพอสรุปความเป็นมาและแหล่งที่เกิดของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้ดังนี้
๑.สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพทางภูมิศาสตร์
สภาพแวดล้อมทางธรรามชาติในท้องถิ่น เช่น น้ำ ต้นข้าว หรือกระแสลม ทั้งนี้ประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณสภาพภูมิศาสตร์ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คนไทยจึงมีวิถีชีวิตและลักษณะการประกอบอาชีพที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างแน่นแฟ้น ดังนั้น การใช้สำนวนไทยต่างๆ จึงปรากฏที่มาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและภูมิศาสตร์ เช่น
-ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง -ข้าวนอกนา
-เข้ารกเข้าพง -คลื่นกระทบฝั่ง
-ต้นร้ายปลายดี -น้ำซึมบ่อทราย
๒.พฤติกรรมของสัตว์ต่างๆโดยเปรียบเปรยพฤติกรรมของสัตว์กับการกระทำลักษณะความรู้สึกนึกคิดของคนต่างๆเช่น
-หมาหยอกไก่ -ปลาหมอตายเพราะปาก
-แมวไม่อยู่หนูร่าเริง -หมาเห่าใบตองแห้ง
๓.ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ ส่วนประกอบอวัยวะต่างๆในร่างกายของคน เช่น
-ปากว่าตาขยิบ -ขนหน้าแข่งไม่ร่วง
-ขนหัวลุก -ปากเป็นเอก เลขเป็นโท-ลิ้นกับฟัน -มือถือสาก ปากถือศีล
๒.สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
๑.สภาพชีวิตความเป็นอยู่ การกระทำ และความประพฤติของคน เช่น
-หาเช้ากินค่ำ มาจากพฤติกรรมการทำมาหากินของคน-ทำนาบนหลังคน มาจากพฤติกรรมการทำมาหากินของคน-ตำข้าวสารกรอกหม้อ มาจากการตำข้าวสารหุงกินในสมัยโบราณ-กินน้ำไม่เผื่อแล้ง มาจากการใช้น้ำในสมัยก่อน
๒,ศาสนาหรือพีธีกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา เช่น
-ขนทรายเข้าวัด -เทศน์ไปตามเนื้อผ้า
-กรวดน้ำคว่ำขัน -มารผจญ
-คว่ำบาตร -ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์
๓.เหตุการณ์ในนิทาน ตำนาน วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ เช่น
-ชักแม่น้ำทั้งห้า มาจากเรื่อง มหาเวชสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร ตอนชูชกจะทูลขอหระกัณหา-ชาลีต่อพระเวสสันดร-กิ้งก่าได้ทอง มาจากเรื่อง มโหสถชาดก-งอมพระราม มาจากวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์
๔.ประเพณีต่างๆในสังคม เช่น
-คนตายขายคนเป็น มาจากประเพณีงานศพ
-ฝังรกฝังราก มาจากประเพณีการเกิด
-ราชรถมาเกย มาจากประเพณีการเลือกกษัตริย์โดยวิธีเสี่ยงราชรถ
-คลุมถุงชน มาจากประเพณีการแต่งงาน
๕.วัตถุสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
-จวักตักแกง มาจากจวักซึ่งทำจากกะลามะพร้าว ที่ใช้ตักแกง
-ฆ้องปากแตก มาจากเครื่องดนตรีฆ้อง
-ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา มาจากกะโหลกซึ่งใช้ตักน้ำ
๖.การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น -งูกินหาง มาจากการละเล่นของเด็กที่ชื่อว่างูกินหาง
-รุกฆาต มาจากการเล่นหมากรุก
-ไก่รองบ่อน มาจากการชนไก่
-ว่าวติดลมบน มาจากการเล่นว่าว
-ว่าวขาดลมลอย มาจากการเล่นว่าว
ลักษณะของสำนวนไทย สำนวนไทย หมายถึง คำกล่าวหรือถ้อยคำคมคายสั้นๆที่ผูกเข้าเป็นประโยคหรือวลี(กลุ่มคำ)มีความหมายกระชัดรัดกุม แต่มีความหมายเป็นนัย มีความลึกซึ้งและมีความหมายในเชิงอุปมาเปรียบเทียบ โดยแบ่งออกเป็นสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย ดังอธิบายพอสังเขป ดังนี้
สำนวน คำว่าสำนวน หมายถึงถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้วมีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ลักษณะทั่วไปของสุภาษิต สำนวนไทย
๑. เป็นคำสั้นๆ ง่ายๆ หรือคล้องจองกันเพื่อให้จดจำได้ง่าย
๒. เป็นคำบอกเล่ากลางๆ ไม่เป็นคำสั่งหรือการบังคับ
๓. ยั่งยื่นอยู่ในความทรงจำของคนทั่วไป
๔. เป็นจริงตามปกติวิสัยมนุษย์ทั่วไป
หน้าที่ของภาษิตสำนวนไทย
คนไทยแต่เดิมไม่มีโรงเรียนไม่มีครูสอนก็ได้อาศัยภาษิตสำนวนเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจ ให้งดเว้นในสิ่งที่ควรงด กระทำในสิ่งที่ควรกระทำ เพราะสำนวนเหล่านี้เกิดมานานและคงเกิดจากประสบการณ์ของคนในรุ่นก่อนๆนั้นเอง จึงเป็นเครื่องเตือนใจ บอกแนวทางดำเนินที่ถูกที่ควรให้แก่คนรุ่งหลัง หรือแนะนำเป็นเชิงสั่งสอน เช่น
ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ
ภาษิตสำนวนไทยยังเป็นสิ่งวิพากษ์วิจารณ์กระทำและพฤติกรรมของมนุษย์ แต่มักจะไม่กล่าวออกมาตรงๆ มักจะกล่าวอ้อมๆโดยนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งอื่น ผู้ฟังจะต้องคิดจึงจะเข้าใจในประการนี้ จะช่วยให้คนปัจจุบันมองเห็นแนวนิยมและแนวความคิดของคนไทยโบราณ ได้ว่านิยมหรือสรรเสริญสิ่งใด รังเกียจดูถูกสิ่งใด โดยสังเกตจากภาษิต สำนวน เช่น
ผู้ดีว่า ขี้ข้าพลอย พูดไปสองไพ นิ่งเสียตำลังทอง หวานเป็นลม ขมเป็นยา มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่
นอกจากนั้นภาษิตสำนวนเหล่านี้ ยังแสดงความเป็นจริงของชีวิตปกติของโลกอีกด้วย เช่น
สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง กงเกียง กำเกวียน
สำนวนภาษิตไทยนี้ต่อๆ มาเมื่อการคมนาคมเจริญมากขึ้น เรามีการติดต่อกับประเทศต่างๆมากขึ้นก็ได้รับภาษิตจากประเทศทางตะวันตกมาใช้ด้วย เช่น กรุงโรมไม่ได้สร้างในวันเดียว เป็นต้น ภาษิตสำนวนไทยนี้มีบางท่านได้นำมาผูกเรื่องเป็นนิทานประกอบก็มี เช่น พระสุวรรณรัศมี แต่งนิทานเทียบสุภาษิตไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องเลี้ยงช้างกินขี้ช้าง กินปูร้องท้อง หนามยอกเอาหนามบ่ง เป็นต้น
คุณค่าของภาษิตสำนวนไทย
ประสิทธิ์ กาพย์กลอน ได้กล่าวถึงคุณค่าของสุภาษิต คำพังเพย และสำนวนไว้ว่ามีประโยชน์หลายประการ คือ
๑. เป็นเครื่องอบรมสั่งสอนละชี้แนะให้เป็นคนดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในด้านความรัก การสมาคม การครองเรือน การศึกษา การพูดจา ดังตัวอย่างในด้านความรักและการครองเรือน เช่น คู่กันแล้วไม่แคล้วกัน เอาใจเขามาใส่ใจเราในด้านการสมาคม เช่น คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ น้ำขุนไว้ในน้ำใส่ไว้นอกในด้านการศึกษาอบรม เช่น เมื่อน้อยให้เรียนวิชา ฝนทั่งให้เป็นเข็ม สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ไม่อ่อนดัดง่าย ไม่แก่ดัดยากในด้านการพูดจา เช่น พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วอัปราชัย พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
๒.ช่วยสะท้อนให้เห็นความคิดความเชื่อ ของคนในสังคมไทยหลายประการ ดังตัวอย่างความเคารพนบนอบผู้ใหญ่ และความเชื่อว่าผู้ชายเป็นผู้นำของครอบครัว เช่น เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ผัวเป็นช้างเท้าหน้า เมียเป็นช้างเท้าหลัง ความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องกรรม เช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ความเชื่อเกี่ยวกับการปกครอง เช่น บ้านเมืองมีขื่อมีแป ความเชื่อเกี่ยวกับเกียรติยศชื่อเสียง เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อเลียชีพอย่าเสียสัตย์
๓.สะท้อนให้เห็นภาวะความเป็นอยู่ของสังคมในด้านต่างๆ ตัวอย่าง เช่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจและการครองชีพ เช่น นุ่งเจียมห่อเจียม มีสลึกพึงประจบให้ครบบาทอย่าเอาเนื้อหนูไปปะเนื้อช้างเกี่ยวกับการทำมาหากิน เช่น อย่าหมายน้ำบ่หน้า น้ำขึ้นให้รีบตักเกี่ยวกับสภาพภูมิศาสตร์ เช่น เมืองลุงมีดอน เมืองคอนมีท่า เมืองตรังมีนา สงขลามีบ่ เป็นสำนวนปักษ์ใต้ที่บอกสภาพจังหวัด พัทลุงว่าเป็นที่ดอน จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นท่าน้ำ จังหวัดตรงมีนามาก และจังหวัดสงขลามีบ่มาก
๔.ชี้ให้เห็นว่าคนไทยกับธรรมชาติเกี่ยวพันอย่างมาก จึงได้นำเอาลักษณะธรรมชาติ สัตว์ ต้นไม้ น้ำ มาตั้งเป็นภาษิตสำนวน คำพังเพยต่างๆ เช่น วัวแก่กินหญ้าอ่อน น้ำตาลใกล้มด ดินพอกหางหมู ปากหอยปากปู มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น อ้อยเข้าปากช้าง วัวลืมตีน น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
๕. ช่วยให้เราใช้ภาษาได้เหมาะสมและสละสลวยน่าสนใจ และเรียนรู้ภาษาถิ่นไปด้วยในตัว อันจะทำให้เข้าใจวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีขึ้น ช่วยทำให้เกิดความรัก ความเห็นใจกันไม่เกิดการแบ่งแยกแตกเหล่า ลักษณะของสำนวน จำแนกได้ดังนี้
๑. มีลักษณะเป็นโวหารและมีเสียงสัมผัสกัน กล่าวคือ สำนวนที่มีลักษณะไพเราะด้วยการซ้ำคำ หรือมีสัมผัสคล้องจองกันทั้งสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระอยู่ในสำนวนนั้นๆ เช่น-ก่อ ร่างสร้าง ตัว มีสัมผัสสระ อา ระหว่างคำว่า ร่าง-สร้าง-ขับ ไล่ไส ส่ง มีสัมผัสสระไอ ระหว่างคำว่า ไล่ ไส-หลับ หู หลับ ตา มีการเล่นคำซ้ำกัน คือคำว่า หลับ-หาม รุ่งหาม ค่ำ มีการเล่นคำซ้ำกัน คือคำว่าหาม
๒.มีลักษณะเป็นความเปรียบหรืออุปมาอุปไมยถึงสิ่งต่างๆดังนี้
-แก้มแดงเป็นลูกตำลึงสุก เป็นการกล่าวเปรียบลักษณะของอาการแก้มแดงบนใบหน้า-เงียบเหมือนเป่าสาก เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความเงียบ-ใจกว้างเหมือนแม่น้ำ เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะนิสัยของคนที่ใจกว้าง-ขาวเหมือนสำลี เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความขาวของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง-ขมเหมือนบอระเพ็ด เป็นการกล่าวเปรียบเทียบถึงลักษณะความขมของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
๓.มีลักษณะเป็นคำคมหรือคำกล่าวที่ให้แง่คิดต่างๆดังนี้
๔.มีลักษณะเป็นบุคลาธิษฐาน คือ สำนวนที่นำคำกริยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ไปใช้กับสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่างๆทำให้สัตว์หรือสิ่งต่างๆเหล่านั้นมีอารมณ์กิริยา ความรู้สึกนึกคิดเหมือนคน เช่น ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง นกรู้ น้ำพึ่งเรือ เสือผึ่งป่า วันลืมตีน กระต่ายตื่นตูม กิ้งก่าได้ทอง น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ ตาลุกตาชัน
สุภาษิต
สุภาษิตหมายถึง ข้อความหรือถ้อยคำสั้นๆมีความกะทัดรัด มักมีความหมายไปในทางแนะนำสั่งสอน มีคติสอนใจ ให้ความจริงเกี่ยวกับความคิดและแนวปฏิบัติซึ่งสามารถพิสูจน์เชื่อถือได้ ลักษณะของสุภาษิต สุภาษิตมักจะเป็นข้อความสั้นๆใช้คำง่ายๆแบบเอกรรถประโยคหรือเป็นประโยคยาวแบบอเนกรรถประโยคก็ได้และมักจะมีลักษณะเปรียบเทียบหรืออุปมาอุปไมยสามารถแบ่งได้ ดังนี้
๑.สุภาษิตของนักปราชญ์ต่างๆรวมถึงพุทธภาษิต เช่น
๒.สุภาษิตชาวบ้าน เป็นสุภาษิตที่ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กล่าว เช่น
-ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง ลงทุนไปโดยได้ผลประโยชน์ไม่คุ้มทุน-ปิดทองหลังพระ หมายถึง ทำความดี แล้วคนอื่นมองไม่เห็น-ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ลงทุนมากแต่ได้ผลเล็กน้อย-มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ หมายถึง ไม่ช่วยทำแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น
เรื่องของสำนวน สุภาษิต คำพังเพยในที่นี้ผู้เขียนไม่ประสงค์จะให้ผู้อ่านเพ่งเล็งในเรื่องของการแบ่งแยกประเภทสำนวน สุภาษิต คำพังเพยออกจากกันเสียที่เดียว จึงขอเรียกรวมกันว่าสำนวนไทย เนื่องจากคำกำจัดความบางข้อความไม่สามารถชี้ชัด หรือแบ่งแยกลักษณะออกจากกันได้ เพราะข้อความหรือกลุ่มคำดังกล่าวยังมีลักษณะที่เป็นทั้งสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย อยู่ในตัว เช่น
น้ำขึ้นให้รีบตัก เป็นสำนวนได้ เพราะมีความหมายไม่ตรงตามตัว อักษร เป็นสุภาษิตได้ เพราะให้คติสอนใจว่า เมื่อมีโอกาสทำอะไร ต้องรีบทำเพื่อ ให้ได้รับผลสำเร็จโดยเร็ว เป็นคำพังเพยได้ เพราะกล่าวติคนทำไม่ดี มูลเหตุและที่มา
สำนวนไทยอาจเป็นวลี ประโยค หรือกลุ่มคำที่มีลักษณะคล้องจองกันนั้น มีมูลเหตุและที่มาจากหลายประการ ตามลักษณะของประเพณี วัฒนธรรม พฤติกรรม นิสัยการกินอยู่ของคนในสังคม รวมถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติความเป็นมาจากศาสนา เหตุการณ์ในวรรณคดี ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ซึ่งพอสรุปความเป็นมาและแหล่งที่เกิดของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยได้ดังนี้
๑.สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสภาพทางภูมิศาสตร์
-ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง -ข้าวนอกนา
-หมาหยอกไก่ -ปลาหมอตายเพราะปาก
-แมวไม่อยู่หนูร่าเริง -หมาเห่าใบตองแห้ง
๓.ลักษณะทางกายภาพของมนุษย์ ส่วนประกอบอวัยวะต่างๆในร่างกายของคน เช่น
-ขนหัวลุก -ปากเป็นเอก เลขเป็นโท-ลิ้นกับฟัน -มือถือสาก ปากถือศีล
๒.สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
๒,ศาสนาหรือพีธีกรรมที่เกี่ยวข้องทางศาสนา เช่น
-ขนทรายเข้าวัด -เทศน์ไปตามเนื้อผ้า
๓.เหตุการณ์ในนิทาน ตำนาน วรรณคดี หรือประวัติศาสตร์ เช่น
๔.ประเพณีต่างๆในสังคม เช่น
๕.วัตถุสิ่งของต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
๖.การละเล่นพื้นบ้านต่างๆ เช่น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)